วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเตรียมความพร้อม เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2558



อาเซียน คืออะไร?
“อาเซียน” อธิบายอย่างเป็นทางการได้ว่าคือ “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ที่ตัวย่อชื่อภาษาอังกฤษย่อได้ว่า “ASEAN” ซึ่งมาจากชื่อเต็มว่า “Association of Southeast Asian Nations” แต่แรกเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2510 อาเซียนเป็นสมาคมของประเทศสมาชิกจริงๆ ซึ่งแรกเริ่มมีสมาชิกเพียง 5 ประเทศ คือ Indonesia, Malaysia, Philippines, Singapore และ Thailand จนถึงวันนี้อาเซียนได้สมาชิกมาเพิ่มอีก 5 ประเทศ คือ Brunei Darussalam, Cambodia, Lao, Myanmar และ Vietnam (เรียงชื่อประเทศตามลำดับอักษรภาษาอังกฤษ) สภาพการเป็นสมาคมของประเทศที่เป็นสมาชิกก็มีความหมายเพียงการคบค้าสมาคมไปมาหาสู่ประชุมเล็กประชุมใหญ่ร่วมกันเป็นระยะๆ ลงนามในเอกสารปฏิญญาหรือสนธิสัญญาอะไรต่อมิอะไรร่วมกัน ลงนามก็ลงนามกันไป จากนั้นผู้นำของทุกประเทศก็แยกย้ายกันกลับประเทศตนเอง กลับไปทำตามความตกลงหรือจะทำช้ากว่ากำหนด หรือจะไม่ทำอะไรเลยทั้งๆที่ลงนามในความตกลงกันไปแล้วก็ได้ทั้งนั้น ไม่มีบทลงโทษ ไม่มีใครจะว่าอะไรให้เสียหาย อาเซียนจึงเกิดมาอย่างไม่เติบโตเหมือน “ทองไม่รู้ร้อน” แต่ความไม่รู้้ร้อนไม่รู้หนาวของอาเซียนจะยังคงแบบเดิมต่อไปมิได้อีกแล้ว เพราะขณะนี้อาเซียนจะเอาจริงแล้วในการทำงานร่วมกันในหมู่ 10 รัฐสมาชิก โดยปรับบทบาทอาเซียนให้เป็นองค์กรที่งานรับผิดชอบมากกว่าในสถานภาพสมาคม โดยอาเซียนประกาศให้ 10 ประเทศสมาชิกร่วมมือกันปรับโครงสร้างและเป้าหมายของ “สมาคม” ให้เป็น “ประชาคม” ให้ได้ในเร็ววัน
ประชาคมอาเซียนคืออะไร?
คำว่า “ประชาคม” ถูกใช้เรียกกระบวนการสร้างสัมพันธ์ในอาเซียนมาแต่แรกเริ่ม เมื่อมาถึงวันนี้อาเซียนปรับแนวทางมามุ่งสร้างทั้งรัฐและประชาชนพลเมืองของทั้ง 10 ประเทศ ให้หล่อหลอมความคิดร่วมกัน ใช้ชีวิตอยู่ร่วมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันดุจว่าจะรวมทั้ง 10 ประเทศให้เป็นเกือบเหมือนประเทศเดียวกัน ในข้อเท็จจริงแล้วทุกประเทศยังคงเป็นประเทศเอกราชเช่นเดิม ดูแลบริหารปกครองประชาชนพลเมืองของตนเป็นสังคมประเทศตามเดิม แต่อาเซียนต้องการให้ทั้ง 10 ประเทศคิดร่วมกันใหม่ว่าให้เราทั้งหมดหลอมรวมวิถีการดำเนินชีวิตทุกมิติให้เป็น 10 ประเทศร่วมชตากรรมเดียวกันเป็นหนึ่งประชาคม เรียกความสัมพันธ์ในภาพรวมทั้งหมดนี้ว่าเป็น “ประชาคมอาเซียน” แม้ว่าแต่ละประเทศยังแยกอยู่เป็นประเทศๆไป แต่ความรู้สึกนึกคิดและแนวนโยบายการปฏิสัมพันธ์กันในภูมิภาคให้ถือว่าทั้ง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนรวมกันเป็น “หนึ่งประชาคม” เรียกว่า “ประชาคมอาเซียน” ให้พวกเราทุกคนในภูมิภาคช่วยกันทำงาน สร้างความร่วมมือระหว่างกัน ทำให้เกิดความรู้สึกจริงๆให้ได้ว่าเราทั้งหมดเป็นประชาคมเดียวกัน มีความรู้สึกเป็นกลุ่มชาติกลุ่มพลเมืองที่มีอัตลักษณ์ร่วมกัน มีแนวคิดแนวฝันมองการณ์ไกลไปข้างหน้าร่วมเป็นหนึ่งเดียวกัน ด้วยเหหตุนี้อาเซียนจึงสร้างคำขวัญเป็นหลักนำทางว่าอาเซียนมี “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม” (One Vision, One Identity, One Community) อาเซียนตั้งเป้าไว้สูง แต่เป็นเป้าที่ไม่เกินเอื้อม จับต้องได้ ทำให้สำเร็จได้ และต้องการทำให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 หรือ ค.ศ. 2015 ให้จงได้ ดังนั้นในปีที่ประเทศไทยรับหน้าที่ประธานอาเซียน จากเดือนสิงหาคม 2551 ถึง เดือนธันวาคม 2552 อาเซียนได้ประกาศ “Roadmap for an ASEAN Community 2009-2015” หรือ “แผนปฏิบัติการสู่ประประชาคมอาเซียน 2009-2015”  ซึ่งจัดแยกแผนงานสร้างประชาคมเป็น 3 เรื่องสำคัญพื้นฐาน คือ :
1. การเมืองและความมั่นคง
2. เศรษฐกิจ
3. สังคมและวัฒนธรรม
ทั้งสามเรื่องใหญ่นี้อาเซียนเรียกเป็นทางการว่าเป็นสามเสาหลักหรือเสาค้ำประชาคมอาเซียนในภาพรวมให้แข็งแกร่ง สามเรื่องสามเสาหลักนี้อาเซียนเรียกแยกเป็น 3 ประชาคมแยกย่อยช่วยค้ำจุนประชาคมอาเซียนในภาพรวมให้มั่นคง
1. เสาหลักเศรษฐกิจ เรียกว่า “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”
2. เสาหลักการเมือง เรียกว่า “ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
3. เสาหลักสังคมและวัฒนธรรม เรียกว่า “ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน”
ทั้งสามเสาหลัก หรือ สามประชาคมนี้ เรียกรวมกันว่าเป็น “ประชาคมอาเซียน”
ประชาคมอาเซียนมีความสำคัญต่อพลเมืองไทย (และพลเมืองอาเซียน) อย่างไร?
ประชาคมอาเซียนทั้งสามเสาหลักมีความสำคัญต่อแบบแผนการสร้างความร่วมมือกันระหว่างประเทศ หากเป็นในอดีตเรื่องทำนองนี้จะถูกปัดไปเป็นเรื่องในความรับผิดชอบของรัฐบาล ประชาชนไม่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่ในเมื่ออาเซียนพลิกความคิดใหม่ตามกฏบัตรอาเซียนที่ประกาศให้มีผลบังคับใช้ในเดือนธันวาคม 2551/2008 ดุจเป็นรัฐธรรมนูญร่วมของอาเซียนที่รัฐสมาชิกทั้งหายต้องยึดถือและปฏิบัติตาม เมื่อเป็นดังนี้แล้วทุกเรื่องที่เกิด ทุกอย่างทำ จะมีผลกระทบต่อประชาชนพลเมืองไทยและพลเมืองอีก 9 ประเทศของอาเซียนโดยตรง ทั้งการเมืองและความมั่นคง ทั้งการเศรษฐกิจ และทั้งด้านสังคมและวัฒนธรรม  เพราะอะไรที่กำหนดแล้วว่าจะทำ ก็ต้องทำเหมือนกันหมด กระทบเท่ากันหมดในทุกประเทศที่เป็นสมาชิกอาเซียน หากลงนามสร้างสันติภาพร่วมกัน พลเมืองทั้งหลายก็ต้องช่วยกันสร้างสันติภาพระหว่างกัน หากตกลงว่าจะเปิดพรมแดนไปมาหาสู่ ทำมาค้าขายกันอย่่างเสรี ไม่มีกำแพงขวางกั้น ทั้งกำแพงภาษีและกระบวนงานด่านศุลกากร อาเซียนบอกว่าให้สะดวกรวดเร็วก็จะต้องทำให้ได้สะดวกรวดเร็วเสมอเหมือนเท่าเทียมกันทั้งหมด เมื่ออาเซียนตกลงให้เปิดเขตการค้าเสรีก็ต้องเปิดเสรีพร้อมกันทั้งหมด หากอาเซียนตกลงว่าจะต้องจรรโลงรักษาความแตกต่างหลากหลายทางภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมในอาเซียนให้เป็นอัตลักษณ์เฉพาะของอาเซียนร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวกัน ทุกชาติทุกกลุ่มวัฒนธรรมธรรมในท้องถิ่นต่างๆของอาเซียนก็จะต้องมีจิตสำนึกร่วมอัตลกษณ์เดียวกันให้ได้ รวมความว่าความตกลงของอาเซียนผ่านการลงนามของผู้นำในระดับต่างๆล้วนมีผลกระทบต่อพลเมืองไทยและพลเมืองอาเซียนทั้งสิ้น
พลเมืองไทย ยังไม่พร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
การเกิดของประชาคมอาเซียนเป็นการค่อยๆเกิด ค่อยๆพัฒนา ค่อยๆเติบโต และค่อยเป็นค่อยไป เป็นกระบวนการที่ถูกปล่อยให้พัฒนาไปช้าๆมาแตแรกเริ่ม แต่มาถูกเร่งให้เป็นรูปธรรมโดยตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2558/2015 และมีเอกสารคู่มือการทำงานไปสู่ประชาคมอาเซียนที่เรียกว่า “Roadmap for an ASEAN Community” และเอกสารที่ว่านี้ก็เพิ่งจัดทำได้มาเพียงสามปีเท่านั้น นับจากปี 2552/2009 เหลือเวลาอีกเพียงสี่ปีเท่านั้นที่จะถึงปีเป้าหมายของการเกิดประชาคมอาเซียน เวลาของการเตรียมพร้อมนั้นน้อยมาก ความตื่นตัวในหมู่ประชาชนไทยเองยังไม่ปรากฏ นอกเหนือไปจากการทำกิจกรรมในสถาบันการศึกษาจำนวนไม่มากนัก ยิ่งไปกว่านั้นก็ยังพบว่ารัฐบาลเองก็ยังไม่ตื่นตัว ยังไม่มีแผนยุทธศาสตร์ใดๆเลยในอันที่จะนำทางประชาชนไปสู่ประชาคมอาเซียน รัฐบาลปัจจุบันยังไม่ประกาศแผนปฏิบัติการส่วนของไทยในการไปสู่ประชาคมอาเซียนเลย
ดังนั้นภาคประชาชนจึงไม่มีทิศทางในการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ไม่รู้ว่าต้องทำอะไรอย่างไร เมื่อไร และจะพึ่งใครได้ ถ้าต้องการข้อมูลข่าวสารเพื่อเตรียมตัวให้พร้อม
นี่คือความน่าเป็นห่วงสำหรับประเทศไทยและพลเมืองไทย
ขอขอบคุณ สมเกียรติ อ่อนวิมล

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเข้าร่วมธุรกิจ และคิดรายได้กับนีโอไลฟ์






สนใจสมัคร กับทีมงานนีโอไลฟ์ออนไลน์เซ็นเตอร์เท่านั้น
ท่านสามารถโตขึ้นทั้งสองข้างได้แน่นอนคือ ซ้ายและขวา


วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แผนการตลาดธุรกิจ นีโอไลฟ์

จากทีมงาน นีโอไลฟ์ออนไลน์เซ็นเตอร์















ผลิตภัณฑ์นีโอไลฟ์ ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไร?


      เมื่อเราอายุมากขึ้น การสะสมสิ่งอุดตันในเส้นเลือดยิ่งสูงขึ้น
และระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกายย่อมเสื่อมสภาพลงตามไปด้วย เส้นเลือดอุดตันตีบตัน

หากเส้นเลือดที่อุดตันเป็นเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนไหนของร่างกาย ส่วนนั้นได้รับเลือดน้อยไม่เพียงพอส่วนนั้นก็จะอ่อนแอและทรุดโทรมลง


ผลิตภัณฑ์ นีโอ ไลฟ์ ช่วยปรับระบบการไหลเวียนของโลหิต  ให้ดีขึ้นเพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ  ทำให้เกิดการบำรุง รักษา และซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเต็มที่พร้อมทั้งยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค ลดการเกิดอนุมูลอิสระ และช่วยชะลอความแก่ ทำให้มีชีวิตใหม่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม


สนใจติดต่อหรือโทรสอบถามผลิตภัณท์ ได้ที่ คุณนพพงษ์ โทร.085-9893425
หรือเข้าเว็บไซด์ เพื่อศึกษาข้อมูล

http://www.neolifeonlinecenter.com/?id=tong


วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แป๊ะก๊วย ช่วยเรื่องความจำเสื่อมได้จริงหรือ?






สรรพคุณ : บำรุงสมอง เสริมความจำ ( อัลไซเมอร์ ) ลดอาการปวดศีรษะ

แป๊ะก๊วย (Ginkgo) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า  : Gingko biloba L. (วงศ์ Ginkgoaceae)
องค์ประกอบสำคัญ ในใบแป๊ะก๊วยมีสารประกอบทางเคมีมากมาย แต่สารออกฤทธิ์ที่สำคัญมีอยู่
2 กลุ่มด้วยกันคือ
1. สารกลุ่มเทอร์ปีนอยด์ ประกอบด้วยสาร sesquiterpene ได้แก่ ไบโลบาไลด์ (bilobalide) และไดเทอร์ปีนคีโตน 5 ชนิดรวมเรียกว่า กิงโกไลด์” (ginkgolides) ได้แก่ ginkgolides A, B, C, J และ M

2. สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ในแป๊ะก๊วยมี flavonoid  มากกว่า 30 ชนิด โดยเฉพาะ flavonoid
glycoside โดยมีส่วน aglycone เป็นฟลาโวนอยด์หลัก 2 ชนิดคือ quercetin และ kaemferol  เช่น quercetin-3-rhamnoside, kaemferol-3-rhamnoside, quercetin-3-rutinoside ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ในใบยังมีสารจำพวก biflavonoids หลายชนิด เช่น amentoflavone, bilobetin, ginkgetin, iso-ginkgetin ซึ่งเป็นสารที่พบเฉพาะในใบแป๊ะก๊วยเท่านั้น


ข้อมูลการศึกษาวิจัย
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

1.ฤทธิ์ในการรักษาอาการผิดปกติในสมอง
-ฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว  จากการศึกษาพบว่าสารพวก flavonoid ในสารสกัด
แป๊ะก๊วยมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว เนื่องจากไปกระตุ้นการสร้าง prostacyclin และกระตุ้นการหลั่ง nitric oxide ซึ่งมีผลทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อหลอดเลือด

- ฤทธิ์เพิ่มการไหลเวียนเลือดในสมอง
2.ผลต่อการทรงตัว และการได้ยิน สารสกัดแป๊ะก๊วยสามารถเพิ่มการเกิด action potential ของเส้นประสาท และสารสกัดสามารถทำให้การทรงตัวดีขึ้น

การศึกษาทางคลินิก
1.ผลในการรักษาอาการ cerebral insufficiency  อาการ cerebral insufficiency ประกอบด้วยอาการต่อไปนี้คือ ไม่มีสมาธิ, ความจำเสื่อม, งุนงง, ไม่มีแรง, เหนื่อย, สมรรถภาพทางกายลดลง อาการซึมเศร้า วิตกกังวล มึนงง หูอื้อ และปวดศรีษะ ผลการศึกษาพบว่าอาการโดยรวมดีขึ้น และพบว่าทำให้ความจำระยะสั้น (shorterm memory) ดีขึ้น ผลในการใช้รักษาอาการความจำเสื่อม (dementia) รวมทั้ง อัลไซเมอร์ พบว่าทำให้ cognitive performance และ social function ดีขึ้น อาการความจำเสื่อมในระดับอ่อนถึง ปานกลางพบว่าทำให้ความจำบางส่วนพัฒนาขึ้น
2.ผลในการรักษาโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน พบว่าสารสกัดสามารถรักษาโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (จะมีอาการคือขาดเลือดไปเลี้ยงปลายมือปลายเท้า)
3.ผลการรักษาอาการเวียนศรีษะ และหูอื้อ พบว่าการใช้รักษาอาการเวียนศรีษะดีขึ้น แต่อาการหูอื้อผลยังไม่แน่นอน


     ใบแปะก๊วยยังทำหน้าที่ป้องกันสารอนุมูลอิสระช่วยบรรเทาโรค ลดภาวะต่างๆที่มักพบได้ในคนชรา มีประโยชน์ในการรักษาโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ รวมทั้งอาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือน และภาวะหลังหมดประจำเดือนอีกด้วย
เกี่ยวกับภาวะบกพร่องของสมองในส่วนซีรีบรัมนั้น ในประเทศเยอรมนีมีการนำสารสกัดจากใบแปะก๊วยที่เรียกว่า กิงโกไบโลบา มาใช้บำรุงผู้ป่วยที่บกพร่องในโรคนี้ ซึ่งในปี 1980

          มีการทดลองกับผู้ป่วยที่มีอาการบกพร่องเรื้อรังของสมองส่วนซีรีบรัมและหลอดเลือดพบว่า ใบแปะก๊วยช่วยให้มีการพัฒนาการทางความจำ ความคิด นอนหลับได้ง่ายขึ้น ส่วนผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์นั้นในสหรัฐอเมริกาใบแปะก๊วยก็ถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อเป็นยารักษาอาการดังกล่าวโดยมีการทดลองในปี 1994 ทดลองให้ใบแปะก๊วยกับกลุ่มผู้ป่วยอัลไซเมอร์ พบว่าผู้ป่วยมีความจำและสมาธิได้ดีขึ้น
         สำหรับผู้ป่วยที่มีสภาวะทางจิตก็พบว่ามีความจำและสมาธิดีขึ้นเช่นกันเมื่อรับประทานใบแปะก๊วยเข้าไป นอกจากนี้ผู้ที่มีปัญหากาเกี่ยวกับดวงตา ใบแปะก๊วยก็ยังช่วยให้มีความเร็วในการตอบสนองทางดวงตามากขึ้น
โรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปรกติของเส้นเลือดดำนั้น มีการทดลองขึ้นในปี 1998 โดยให้ผู้มีอาการปวดหลังจากการเดิน รับประทานแล้วพบว่าใบแปะก๊วยมีส่วนช่วยลดอาการปวดได้จริง ทั้งยังทำให้เดินได้มรระยะทางไกลขึ้นอีกด้วย รวมไปถึงยังมีการทดลองพบว่าใบแปะก๊วยช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดเพื่อเข้าไปเลี้ยงแขนขาได้ดีขึ้นอย่างมาก

          ส่วนที่เกี่ยวกับสภาวะการหายใจนั้น ในปี 1996 ได้มีการทดลองพบว่าใบแปะก๊วยมีประสิทธิภาพช่วยป้องกันผู้ที่มีอาการ AMS (Asthma & Acute Mountain Sickness) หรือภาวการณ์ผิดปรกติของการหายใจขณะขึ้นสู่ที่สูงได้ ส่วนคนในกลุ่มคนที่ประสบปัญหาหูอื้ออยู่เป็นประจำ การรับประทานอาหารใบแปะก๊วยยังช่วยลดภาวะหูอื้อลงได้อีกด้วย

          จากสรรพคุณต่างๆที่หลากหลายของใบแปะก๊วยที่มนุษย์ประจักษ์ชัดมาช้านาน มันจึงเป็นพืชสมุนไพรเก่าแก่ที่ให้คุณประโยชน์ในทางยาต่อมนุษย์มากมายมหาศาลอย่างแท้จริง.


เพียวเซ็นเต้ ผลิตภัณท์เพื่อความงาม








เพียวเซ็นเต้ ผลิตภัณท์เพื่อความงาม ให้การยอมรับจากนานาประเทศ


สุดยอดผลิตภัณฑ์ดูแลสภาพผิว ใบหน้า สารสกัดจากไข่มุก และทองคำ

บริสุทธิ์ เซรั่ม และ สเต็มเซลล์ ฟื้นฟูและยกกระชับผิวหน้า ลบรอยเหี่ยวย่น คืน

ความเปล่งปลั่ง นุ่มละมุน เพื่อสุขภาพผิวที่ดีของผู้หญิงยุคใหม่ทุกคน