แป๊ะก๊วย (Ginkgo) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า : Gingko biloba L. (วงศ์ Ginkgoaceae)
องค์ประกอบสำคัญ ในใบแป๊ะก๊วยมีสารประกอบทางเคมีมากมาย แต่สารออกฤทธิ์ที่สำคัญมีอยู่ 2 กลุ่มด้วยกันคือ
1. สารกลุ่มเทอร์ปีนอยด์ ประกอบด้วยสาร sesquiterpene ได้แก่ ไบโลบาไลด์ (bilobalide) และไดเทอร์ปีนคีโตน 5 ชนิดรวมเรียกว่า “กิงโกไลด์” (ginkgolides) ได้แก่ ginkgolides A, B, C, J และ M
2. สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ในแป๊ะก๊วยมี flavonoid มากกว่า 30 ชนิด โดยเฉพาะ flavonoid
glycoside โดยมีส่วน aglycone เป็นฟลาโวนอยด์หลัก 2 ชนิดคือ quercetin และ kaemferol เช่น quercetin-3-rhamnoside, kaemferol-3-rhamnoside, quercetin-3-rutinoside ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ในใบยังมีสารจำพวก biflavonoids หลายชนิด เช่น amentoflavone, bilobetin, ginkgetin, iso-ginkgetin ซึ่งเป็นสารที่พบเฉพาะในใบแป๊ะก๊วยเท่านั้น
ข้อมูลการศึกษาวิจัย
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา1.ฤทธิ์ในการรักษาอาการผิดปกติในสมอง
-ฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว จากการศึกษาพบว่าสารพวก flavonoid ในสารสกัด
แป๊ะก๊วยมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว เนื่องจากไปกระตุ้นการสร้าง prostacyclin และกระตุ้นการหลั่ง nitric oxide ซึ่งมีผลทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อหลอดเลือด
- ฤทธิ์เพิ่มการไหลเวียนเลือดในสมอง
2.ผลต่อการทรงตัว และการได้ยิน สารสกัดแป๊ะก๊วยสามารถเพิ่มการเกิด action potential ของเส้นประสาท และสารสกัดสามารถทำให้การทรงตัวดีขึ้น
การศึกษาทางคลินิก
1.ผลในการรักษาอาการ cerebral insufficiency อาการ cerebral insufficiency ประกอบด้วยอาการต่อไปนี้คือ ไม่มีสมาธิ, ความจำเสื่อม, งุนงง, ไม่มีแรง, เหนื่อย, สมรรถภาพทางกายลดลง อาการซึมเศร้า วิตกกังวล มึนงง หูอื้อ และปวดศรีษะ ผลการศึกษาพบว่าอาการโดยรวมดีขึ้น และพบว่าทำให้ความจำระยะสั้น (shorterm memory) ดีขึ้น ผลในการใช้รักษาอาการความจำเสื่อม (dementia) รวมทั้ง อัลไซเมอร์ พบว่าทำให้ cognitive performance และ social function ดีขึ้น อาการความจำเสื่อมในระดับอ่อนถึง ปานกลางพบว่าทำให้ความจำบางส่วนพัฒนาขึ้น
2.ผลในการรักษาโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน พบว่าสารสกัดสามารถรักษาโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (จะมีอาการคือขาดเลือดไปเลี้ยงปลายมือปลายเท้า)
3.ผลการรักษาอาการเวียนศรีษะ และหูอื้อ พบว่าการใช้รักษาอาการเวียนศรีษะดีขึ้น แต่อาการหูอื้อผลยังไม่แน่นอน
ใบแปะก๊วยยังทำหน้าที่ป้องกันสารอนุมูลอิสระช่วยบรรเทาโรค ลดภาวะต่างๆที่มักพบได้ในคนชรา มีประโยชน์ในการรักษาโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ รวมทั้งอาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือน และภาวะหลังหมดประจำเดือนอีกด้วย
เกี่ยวกับภาวะบกพร่องของสมองในส่วนซีรีบรัมนั้น ในประเทศเยอรมนีมีการนำสารสกัดจากใบแปะก๊วยที่เรียกว่า กิงโกไบโลบา มาใช้บำรุงผู้ป่วยที่บกพร่องในโรคนี้ ซึ่งในปี 1980
มีการทดลองกับผู้ป่วยที่มีอาการบกพร่องเรื้อรังของสมองส่วนซีรีบรัมและหลอดเลือดพบว่า ใบแปะก๊วยช่วยให้มีการพัฒนาการทางความจำ ความคิด นอนหลับได้ง่ายขึ้น ส่วนผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์นั้นในสหรัฐอเมริกาใบแปะก๊วยก็ถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อเป็นยารักษาอาการดังกล่าวโดยมีการทดลองในปี 1994 ทดลองให้ใบแปะก๊วยกับกลุ่มผู้ป่วยอัลไซเมอร์ พบว่าผู้ป่วยมีความจำและสมาธิได้ดีขึ้น สำหรับผู้ป่วยที่มีสภาวะทางจิตก็พบว่ามีความจำและสมาธิดีขึ้นเช่นกันเมื่อรับประทานใบแปะก๊วยเข้าไป นอกจากนี้ผู้ที่มีปัญหากาเกี่ยวกับดวงตา ใบแปะก๊วยก็ยังช่วยให้มีความเร็วในการตอบสนองทางดวงตามากขึ้น
โรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปรกติของเส้นเลือดดำนั้น มีการทดลองขึ้นในปี 1998 โดยให้ผู้มีอาการปวดหลังจากการเดิน รับประทานแล้วพบว่าใบแปะก๊วยมีส่วนช่วยลดอาการปวดได้จริง ทั้งยังทำให้เดินได้มรระยะทางไกลขึ้นอีกด้วย รวมไปถึงยังมีการทดลองพบว่าใบแปะก๊วยช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดเพื่อเข้าไปเลี้ยงแขนขาได้ดีขึ้นอย่างมาก
ส่วนที่เกี่ยวกับสภาวะการหายใจนั้น ในปี 1996 ได้มีการทดลองพบว่าใบแปะก๊วยมีประสิทธิภาพช่วยป้องกันผู้ที่มีอาการ AMS (Asthma & Acute Mountain Sickness) หรือภาวการณ์ผิดปรกติของการหายใจขณะขึ้นสู่ที่สูงได้ ส่วนคนในกลุ่มคนที่ประสบปัญหาหูอื้ออยู่เป็นประจำ การรับประทานอาหารใบแปะก๊วยยังช่วยลดภาวะหูอื้อลงได้อีกด้วย
จากสรรพคุณต่างๆที่หลากหลายของใบแปะก๊วยที่มนุษย์ประจักษ์ชัดมาช้านาน มันจึงเป็นพืชสมุนไพรเก่าแก่ที่ให้คุณประโยชน์ในทางยาต่อมนุษย์มากมายมหาศาลอย่างแท้จริง.
เกี่ยวกับภาวะบกพร่องของสมองในส่วนซีรีบรัมนั้น ในประเทศเยอรมนีมีการนำสารสกัดจากใบแปะก๊วยที่เรียกว่า กิงโกไบโลบา มาใช้บำรุงผู้ป่วยที่บกพร่องในโรคนี้ ซึ่งในปี 1980
มีการทดลองกับผู้ป่วยที่มีอาการบกพร่องเรื้อรังของสมองส่วนซีรีบรัมและหลอดเลือดพบว่า ใบแปะก๊วยช่วยให้มีการพัฒนาการทางความจำ ความคิด นอนหลับได้ง่ายขึ้น ส่วนผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์นั้นในสหรัฐอเมริกาใบแปะก๊วยก็ถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อเป็นยารักษาอาการดังกล่าวโดยมีการทดลองในปี 1994 ทดลองให้ใบแปะก๊วยกับกลุ่มผู้ป่วยอัลไซเมอร์ พบว่าผู้ป่วยมีความจำและสมาธิได้ดีขึ้น
โรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปรกติของเส้นเลือดดำนั้น มีการทดลองขึ้นในปี 1998 โดยให้ผู้มีอาการปวดหลังจากการเดิน รับประทานแล้วพบว่าใบแปะก๊วยมีส่วนช่วยลดอาการปวดได้จริง ทั้งยังทำให้เดินได้มรระยะทางไกลขึ้นอีกด้วย รวมไปถึงยังมีการทดลองพบว่าใบแปะก๊วยช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดเพื่อเข้าไปเลี้ยงแขนขาได้ดีขึ้นอย่างมาก
ส่วนที่เกี่ยวกับสภาวะการหายใจนั้น ในปี 1996 ได้มีการทดลองพบว่าใบแปะก๊วยมีประสิทธิภาพช่วยป้องกันผู้ที่มีอาการ AMS (Asthma & Acute Mountain Sickness) หรือภาวการณ์ผิดปรกติของการหายใจขณะขึ้นสู่ที่สูงได้ ส่วนคนในกลุ่มคนที่ประสบปัญหาหูอื้ออยู่เป็นประจำ การรับประทานอาหารใบแปะก๊วยยังช่วยลดภาวะหูอื้อลงได้อีกด้วย
จากสรรพคุณต่างๆที่หลากหลายของใบแปะก๊วยที่มนุษย์ประจักษ์ชัดมาช้านาน มันจึงเป็นพืชสมุนไพรเก่าแก่ที่ให้คุณประโยชน์ในทางยาต่อมนุษย์มากมายมหาศาลอย่างแท้จริง.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น